การรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็ง
สกรูน็อตหัวหกเหลี่ยมที่เป็นเกรด (high tensile bolts and nuts) ที่ในท้องตลาดเมืองไทย มีด้วยกันสามเกรด
เกรด สกรูน็อต 8.8 เป็นสกรูน็อตที่ผลิตมาจากวัตถุดิบ carbon steel คือ เหล็กแข็งเกรด S45C
เป็นเหล็กเกรดที่มีความแข็งปานกลาง ใช้ได้ดีในงานทั่วไป โดยเฉพาะงาน ก่อสร้างต่างๆ
เกรด สกรูน็อต เกรด 10.9 และ เกรด 12.9 เป็นสกรูน็อตที่มีสเปคความแข็งและการรับแรงเพิ่มขึ้น จากสกรูเกรด 8.8
เป็นสกรูที่ผลิตจากเหล็กกล้าผสม (alloy steel) เกรดวัตถุดิบที่ใช้ เป็น เกรดเหล็ก SCM440 บางที่เราจะเรียก ว่าเป็นเหล็กกล้าผสม หรือเหล็กอะลอย เป็นต้น
ขออธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน
- Yield load หมายถึง แรงสูงสุด ก่อนที่จะทำให้วัตถุที่แรงนั้นไปกระทำ จะเปลี่ยนรูปไป แล้วไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกเช่น เวลาดึงเหล็กเพลา จนถึงจุดที่มันเริ่มยืดออก จุดนั้น คือ จุดที่เป็น yield load หรือ yield strength
- Ultimate loads หมายถึง แรงดึงต่ำสุดที่ทำให้วัตถุขาด หรือ แตกสลายไปเลย เช่น แรงดึงที่เราดึงเหล็ก ถ้าเหล็กเริ่มยึด ก็เป็น yield load ถ้าเราเพิ่มแรงดึงขึ้นอีกจนเหล็กขาดนี้จึงเป็น แรงดึงสุงสุด หรือ ultimate load
- Working load หมายถึง แรงที่เราเอามาใช้งาน ใช้ในการคำนวน การรับแรงของสกรูน็อตแข็งพวกนี้เราจะใช้ เพียง 25% ของ yield load คือใช้เพียง หนึ่งในสี่ของ แรงดึงที่ได้รับ เพื่อ ป้องการข้อบกพร่องต่างๆในการทำงาน เช่น สกรูน็อต ในการผลิตแต่ละครั้งสเปค อาจไม่เท่ากัน แต่ละครั้ง ทั้งวัตถุดิบ การชุบแข็ง สกรูที่มีเกลียวครึ่งเดียว กับสกรูที่มีเกลียว ตลอด ก็ได้ผลการรับแรงที่ต่างกัน การขันหัวน็อต การใช้แรงขัน หัวน็อตให้แน่นไม่เท่ากันก็มีผลในการรับแรงของสกรู ความยาวของสกรูตัวผู้ ก็มีส่วนให้การรับแรงลดลงได้
เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และการใช้งาน เราจึงใช้ตัวเลข เพียง หนึ่งในสี่ของที่วัดได้ เอามาคำนวนการใช้งาน
ตารางการรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็ง

การรับน้ำหนักของสกรูน็อตกิโล
น็อตกิโลเป็นสกรูน็อตที่ผลิตจากวัตถุดิบ เกรดเหล็ก Low Carbon Steel .เกรดเหล็กคาร์บอนต่ำ คือ มีคาร์บอนผสมอยู่น้อยกว่า 0.25% คือเหล็ก เกรด 1006 ,1010 ,1016 ,1018
เป็นเกรดความแข็ง 4.6 4.8 ปกติน็อตกิโล จะมีลักษณะเป็นเกลียวตลอดและจะผลิตโดยไม่ชุบอะไร จึงต่างกับสกรูมิลขาวที่ชุบซิงค์ขาว ส่วน ขนาดหัวสกรู และขนาดหัวน็อต จะมีขนาดใหญ่กว่าสกรูเกลียวมิล
Tensile Strength 60,000-80,000 pai หรือ 410-550 Mpa การคำนวนหาค่าของการรับน้ำหนักนั้น เราคำนวน จากค่าTensile Strength ซึ่งเป็นการคำนวน แบบประมาณการเท่านั้น ไม่ได้มีการทดสอบการรับน้ำหนักจริง จึงไม่อาจจะใช้ในทางวิชาการ
แต่ข้อมูลทางเราได้ใช้ค่าเซฟตี้แฟกเตอร์สูงสุด ถึง 25% เพื่อลดข้อผิดพลาด เนื่องจากข้อมูลที่ใช้คำนวนเป็นของต่างประเทศ แต่วัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิตในเมืองไทย อาจจะไม่เหมือนต่างประเทศ ซึ่งอาจเกิด ผิดพลาดได้