การงานใช้พุ๊กเคมี แบบตอกและแบบปั่น+สตัด CHEMICAL RESIN ANCHOR

7550 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การงานใช้พุ๊กเคมี แบบตอกและแบบปั่น+สตัด CHEMICAL RESIN ANCHOR

ลักษณะทั่วไปของพุ๊กเคมี

พุ๊กเคมี ประกอบด้วยสาร โพลี อิสเตอร์ เรซิน และสารที่ทําให้นํ้ายาเรซินแข็งตัว เพื่อเวลาติดตั้งดดยให้นํ้ายาแข็งตัวแตกและเข้าผสมกับสารโพลีอิสเตอร์ เรซิน ตัวนํ้ายาเรซินก็จะจับตัวแข็งเป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีต โดยไม่เกิดแรงเบ่งขยายตัวของพุ๊ก เหมือนพุ๊กชนิดอื่น จึงเป็นข้อดีของพุ๊กเคมี ที่ต่างจากพุ๊กทั่วไปที่ยึดติดกับคอนกรีตโดยไม่เกิดความเครียดโดยใช้แรงเบ่งขยายตัว

โดยพุ๊กเคมีจะมี 2 แบบคือ แบบปั่น  และ แบบตอก

4 ขนาด คือ 10 มม. / 12 มม. / 16 มม. / 20 มม. 


ข้อดี

  • ไม่เกิดแรงเครียด รอบจุดที่ฝังพุ๊กเคมี
  • มีอายุการใช้งานนาน
  • สามารถติดตั้งได้ในที่คับแคบต่างๆและจุดที่ใกล้ขอบผนังคอนกรีต
  • สามารถใช้ได้กับผนังคอนกรีตเก่า หรือผนังที่โดนไฟไหม้แต่ไม่มากนักเพราะไม่เกินการเบ่งตัว ทําให้ผนังคอนกรีตเกิดปริ แตกร้าวได้
  • ตัวพุ๊กเคมีสามารถรับแรงที่มีการเคลื่อนไหวได้ดี
  • ตัวนํ้ายาในพุ๊กเคมีสามารถป้องกันการเกิดสนิมกับตัวสตัดได้ดีอีกด้วย
  • สามารถใช้ได้ทั้งสตัดเกลียวตลอด และเหล้กข้ออ้อย

การติดตั้งพุ๊กเคมี

  • เลือกขนาดที่จะใช้ให้ถุกต้องตามขนาดและแรงดึงที่ต้องการ
  • เจาะรูตามขนาดและความลึกตามสเป็คที่กําหนด
  • ล้างและทําความสะอาดรูคอนกรีตให้สะอาดที่สุดด้วยแปรงและใช้ลมเป่าให้รูสะอาดไร้ฝุ่นละออง
  • สอดหลอดพุ๊กเคมีลงไปโดยให้ด้านกลมอยู่ข้างล่าง
  • ตอกสตัดพุ๊กเคมีลงไปจนสุดแล้วค่อยๆหมุนสตัดอย่างช้าเพื่อให้นํ้ายาผสมกันได้ดีและเป็นการไล่ลมในรูคอนกรีต
    และในนํ้ายาพุ๊กเคมีแล้วขยับให้แกนพุ๊กเคมีให้อยู่ในจุดที่กําหนดรอให้พุ๊กเคมีแห้ง

ภาพการติดตั้งพุ๊กเคมี chemical resin installation

ข้อควรระวังในการติดตั้งพุ๊กเคมี

  • การเจาะรูต้องทําความสะอาดรูให้สะอาดเพราะถ้ามีฝุ่นผงในรูคอนกรีตจะทําให้ตัวนํ้ายาไม่เกาะผนังคอนกรีต เพราะมีฝุ่นกั้นอยู่ การทําความสะอาดด้วยวิธีใช้แปรงขัดล้าง 3 ครั้ง แล้วใช่ลมเป่าให้สะอาด
  • การติดตั้งพุ๊กเคมีแบบปั่นนั้น ต้องปั่นให้นํ้ายาเคมีผสมกับตัวนํ้ายาที่ทําให้แข็งตัว เมื่อปั่นดีแล้วตัวนํ้ายาจะเป็นสีเทาคล้ายดินเหนียว จึงจะแข็งตัว ถ้ายังเป็นสีใสๆก็ต้องปั่นอีกจนกว่าจะผสมกันจนเข้ากันได้ดี
  • ต้องตรวจเช็คว่านํ้ายาเคมีเลื่อมหรือไม่ โดยดูว่าตัวยาในหลอดยังไม่แข็งตัวไหลไปมาได้ เมื่อเวลาเอียงหลอดไปมา ถ้าตัวยาแข็งตัวก็ห้ามใช้
  • การเจาะรูไม่ควรเจาะรูใหญ่กว่าสตัดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะจะเกี่ยวกับการยึดเกาะของตัวนํ้ายาเคมีกับผนังคอนกรีต
  • เมื่อติดตั้งเสร็จจับแกนเหล็กให้อยู่ในตําแหน่งที่ต้องการแล้วรอจนนํ้ายาเรซิ่นแข็งตัว ปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ในอุณหภูมิ 20-30 องศา ในกรณีที่ติดตั้งในห้องเย็นที่อุณหภูมิตํ่ากว่าศูนย์จะต้องใช้เวลาแข็งตัวถึง 5 ชม.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้